เงินถูกดูด ตัดบัตรกว่าหมื่นใบ มูลค่ารวมกว่า 130 ล้านบาท!!!
เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา (ล่าสุดวันที่ 17 ตุลาคม 2564) ได้มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมากถูกตัดเงินออกจากบัญชี ซึ่งมีหลายรายการพบว่าเป็นการหักเงินผ่าน Debit Card และ Credit Card ของธนาคารอย่างผิดปกติ โดยส่วนใหญ่พบการตัดเงินในบัญชี ระบุข้อความ “Purchase via EDC” (อ้างอิง ภาพที่ 1 AmarinTV)
อ้างอิง ภาพที่ 1 AmarinTV
ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารสมาคมแห่งประเทศไทยได้ออกมาชี้แจงในเบื้องต้นว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลข้อมูลของธนาคาร แต่เป็นรายการที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมชำระสินค้าและบริการกับร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และไม่ใช่แอพดูดเงินดังที่ปรากฏเป็นข่าว[2]
เครื่อง EDC คืออะไร (อ้างอิงภาพที่ 1 ชำระค่าสินค้าผ่าน EDC)
เครื่อง EDC หรือ Electronic Data Capture หรือที่เรียกติดปากกันว่าเครื่องรูดบัตร ซึ่งเป็นอุปกรณ์รับชำระเงินที่ทันสมัยในยุคดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต
EDC ใช้ทำอะไรได้บ้าง
อ้างอิง https://www.dharmniti.co.th
เครื่องรูดบัตรแบบติดตั้งในร้านรับชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต เหมาะกับการติดตั้งประจำที่ร้าน
อ้างอิง https://www.dharmniti.co.th
เครื่องรูดบัตรแบบเคลื่อนที่ Mobile EDC รับชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยเครื่องจะเชื่อมต่อสัญญาณผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ต้องมีซิมการ์ด เหมาะการออกงานแสดงสินค้า (Exhibition) ตามที่ต่างๆ หรือไม่มีร้านประจำ
อ้างอิง https://www.dharmniti.co.th
เครื่องรูดบัตรมือถือ mPOS รับชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเพื่อชำระสินค้าและบริการ ขนาดเล็กพกพาสะดวกเหมาะกับธุรกิจ Delivery และ Direct Sales
จากสาเหตุที่กล่าวในข้างต้น เรื่องการหักเงินผ่านบัตรเดบิตและบัตรเครดิตของธนาคารอย่างผิดปกติที่เกิดขึ้นทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหา ดังนี้
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
แนวทางการป้องกัน
ผู้ใช้งานบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตควรมีความตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินดังต่อไปนี้
1. ไม่ผูกบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตกับแอปพลิเคชันที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
อ้างอิง :
[1] https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000103748
[1] https://money.kapook.com/view247839.html
[2] https://meet.google.com/xuw-khgj-jey?pli=1&authuser=1
https://hilight.kapook.com/view/217558
https://www.amarintv.com/news/detail/103430
https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/Pages/JointPress_19102021.aspx
ผู้เขียน : นาย วสุพล ไชยสง่าศิลป์
ผู้ตรวจทาน : นายเจษฏา ทองก้านเหลือง
เผยแพร่ : วันที่ 20 ตุลาคม 2564